อาหารแช่แข็ง

ทุกครั้งที่เรากินอาหารไม่หมดหรืออาจจะประกอบอาหารด้วยของสดจากที่ไกลๆ อย่างอาหารทะเล เรามักจะต้องแช่แข็งอาหารเหล่านั้นกันใช่มั้ยหลาะครับ วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไปพบกับความรู้เกี่ยวกับ “อาหารแช่แข็ง” และไปสอนเกี่ยวกับ “4 จัดเก็บอาหารแช่แข็งที่ถูกต้อง” ให้กับทุกๆ ท่านไปนำไปใช้กันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปชมกันเล้ยย!!!

อาหารแช่แข็งเป็นอย่างไรกันนะ?

อาหารแช่แข็ง คือ การถนอมอาหารโดยวิธีการลดอุณหภูมิให้น้อยกว่าจุดเยือกแข็งคือ -18 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ไม่มีจุลินทรีย์ชนิดใดสามารถเจริญเติบโตได้ เพราะจุลินทรีย์ต้องใช้น้ำในการเจริญเติบโต เมื่อน้ำเปลี่ยนเป็นน้ำแข็งแล้วจึงไม่สามารถเจริญเติบโตได้อีก อีกทั้งการแช่แข็งยังเป็นการหยุดปฏิกิริยาเคมีหรือหยุดการทำงานของเอนไซม์ ทำให้สามารถรักษารสชาติและคุณค่าทางอาหารไว้ได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว อาหารแช่แข็งสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานถึง 6 เดือน – 2 ปี เลยทีเดียว

แล้วอาหารที่แช่เย็นเหมือนกันอาหารแช่แข็งหรือไม่?

อาจจะไม่เหมือนไปเสียทั้งหมด แต่มีหลักการคล้ายๆ กัน เพราะอาหารแช่เย็น คือ การถนอมอาหารโดยใช้ความเย็นเหนือจุดเยือกแข็งเล็กน้อยคือตั้งแต่ 0 – 5 องศาเซลเซียส ซึ่งด้วยอุณหภูมินี้จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ทั่วไปได้ อย่างไรก็ตาม หากผ่านการขนส่งที่นานเกินไปหรือการเก็บรักษาอย่างผิดวิธี ก็อาจทำให้แบคทีเรียกลุ่ม วิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการอาหารเป็นพิษ ท้องร่วง ท้องเสีย หรือสารฮีสตามีนที่ทำให้วิงเวียน ปวดศีรษะ หรือเป็นลม นั้นเจริญเติบโตได้ ดังนั้นหากเป็นไปได้ หลังจากซื้ออาหารแช่เย็นมาแล้วควรนำมาปรุงทันทีหรือควรเก็บไม่เกิน 3 วันเท่านั้น

จะเห็นได้ว่าอาหารแช่แข็งและอาหารแช่เย็นล้วนไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย หากแต่ขั้นตอนการจัดส่ง การเก็บรักษา และการนำมาปรุงอาหารต่างหาก ที่เป็นตัวแปรหลักของคุณภาพ ซึ่งใครจะเลือกทานอาหารแบบใดนั้น ให้ลองสำรวจว่ามีเวลาออกไปจ่ายตลาดหรือทำอาหารเองบ่อยแค่ไหน เพราะอาหารแช่แข็งก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจที่จะช่วยมอบความอร่อยแถมคงคุณภาพและรสชาติของอาหารเอาไว้อย่างดีด้วย

หลักการถนอมอาหาร ด้วยการทำให้ อาหารแช่แข็ง

อุณหภูมิที่ต่ำจะสามารถ ลด ยับยั้งและหยุดการเสื่อมเสียในอาหารอันเนื่องมาจากการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ปฏิกิริยาเคมี รวมทั้งการคงรักษาเนื้อสัมผัสได้ด้วยการลดจนเกือบจะหยุดการเคลื่อนไหวทางฟิสิกส์ของอนุภาคหรือที่เรียกว่าการเข้าสู่สภาวะสภาพแก้ว(glass transition)ในอาหารได้

ปัจจุบัน กฎการเก็บรักษาอาหารแช่แข็งส่วนใหญ่ จะให้เก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำกว่า-18°C(=0°F) ได้ในระยะเวลา 6 เดือน ถึง 2 ปี ด้วยความเย็นระดับนี้จะไม่มีจุลินทรีย์ชนิดใดสามารถเจริญเติบโตได้ โดยเฉพาะจุลินทรีย์ชนิด Psychophilic Organism ที่สามารถเจริญเติบโตได้ในอุณหภูมิต่ำถึง -5 องศาเซลเซียส ทำให้การแช่เย็นทั่วไปป้องกันไม่ได้ เพราะอุณหภูมิจะอยู่ที่เพียง 0-5 องศาเซลเซียส

4 จัดเก็บอาหารแช่แข็งที่ถูกต้อง

●แบ่งวัตถุดิบให้หยิบออกมาใช้ได้ง่าย ไม่ต้องนำออกมาละลายทั้งหมด ซึ่งขั้นตอนการบรรจุภัณฑ์ก่อนจะทำการแช่แข็งก็เป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญไม่แพ้ขั้นตอนการถนอมอาหาร โดยควรจะแยกและจัดเก็บประเภทของอาหารออกจากกันอย่างชัดเจน  เพื่อไม่ให้เนื้อสัตว์แข็งเกาะตัวกัน ทำให้หยิบออกมาใช้ได้ง่าย

●หลีกเลี่ยงการนำอาหารกลับไปแช่แข็งซ้ำ คุณภาพอาหารจะลดลง เมื่อจัดเก็บเนื้อสัตว์เป็นระเบียบ การประกอบอาหารแต่ละครั้งจึงไม่จำเป็นต้องนำเนื้อสัตว์ออกมาละลายทั้งหมด หลีกเลี่ยงการแช่แข็งซ้ำที่จะทำให้คุณภาพของอาหารเสื่อมลงอย่างรวดเร็วที่เกิดจากอุณหภูมิของอาหารเพิ่มสูงขึ้นจากการแช่น้ำนั้นเอง

●ปิดบรรจุภัณฑ์ให้สนิทเพื่อไม่ให้ Freeze Burnหรือรอยแห้งที่เกิดจากน้ำแข็งบนเนื้อสัตว์

เนื้อสัตว์แช่แข็งมักเจอปัญหาFreeze burn หรือรอยแห้งที่เกิดจากน้ำแข็ง ทำให้เนื้อเป็นรอยขาวหรือเหลืองซีด เมื่อนำมาประกอบอาหารคุณภาพของเนื้อสัตว์จะแย่และไม่อร่อย วิธีการป้องกันควรห่ออาหารด้วยอลูมิเนียมฟอยล์หรือบรรจุภัณฑ์ปิดสนิทก่อนนำเข้าช่องแช่แข็ง เพื่อไม่ให้เนื้อสัตว์เกิดความเสียหาย

●แยกเเละจัดเก็บประเภทๆ  ควรจัดเก็บเนื้อสัตว์ในรูปแผ่นแบนเเละบรรจุภาชนะที่ปิดมิดชิดและแยกประเภท ไม่จุกรวมกันเป็นก้อนเพื่อกระจากความเย็นให้ทั่วถึงและง่ายต่อการหยิบใช้งาน แบ่งเนื้อสัตว์ออกเป็นช่องก่อนแช่แข็ง โดยการใช้ตะเกียบแบ่งช่องให้เนื้อขาดออกจากกันเพื่อง่ายต่อการแบ่งออกมาประกอบอาหาร

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “4 จัดเก็บอาหารแช่แข็งที่ถูกต้อง” และเกล็ดความรู้อื่นๆ ที่น่าสนใจที่เราได้นำมาฝากท่านผู้อ่านกันนบทความข้างต้น หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ ท่านกันนะครับ

You may also like