การเก็บอาหารไว้ในตู้เย็น

เคยกินอาหารแล้วไม่หมดกันบ้างมั้ยครับ เพราะสั่งมากเยอะหรือทำไว้เยอะก็ดี แล้วแบบนี้เราจะทำอย่างไรกับอาหารเหล่านี้ดีหล่ะ ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดนั้นก็คือการ “แช่เย็น” นั้นเองครับ แต่ท่านทราบกันหรือไม่ครับว่า การกินอาหารแช่เย็นหรือแช่แข็งจะเป็นอย่างไร วันนี้เราจุงอยากพาทุกๆ ท่านไปค้นหาคำตอบเกี่ยวกับ “การเก็บอาหารไว้ในตู้เย็นๆ นานๆ กินได้หรือไม่?” กันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปชมกันเล้ยย!!!

การแช่เย็นส่งผลต่ออาหารอย่างไรบ้าง?

การแช่เย็น คือการถนอมอาหารโดยใช้ความเย็นเหนือจุดเยือกแข็งเล็กน้อยคือตั้งแต่ 0 – 5 องศาเซลเซียส ซึ่งด้วยอุณหภูมินี้จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ทั่วไปได้ การแช่เย็น คือการถนอมอาหารโดยใช้ความเย็นเหนือจุดเยือกแข็งเล็กน้อยคือตั้งแต่ 0 – 5 องศาเซลเซียส ซึ่งด้วยอุณหภูมินี้จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ทั่วไปได้

กินอาหารที่แช่เย็นทิ้งไว้นานๆ อันตรายหรือปล่าว?

ตามข้อมูลข้างต้น หากเก็บอาหารที่หมดอายุและแช่เย็นไว้นานเกินไป เชื้อราหรือเชื้อโรคต่างๆ ก็อาจจะเจริญเติบโตในอาหารได้เช่นกัน ดังนั้นควรกินอาหารที่ไม่เก็บแช่เย็นไว้ไม่เกิน 3 วันจึงจะปลอดภัยที่สุดครับ

โรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารแช่เย็นทิ้งไว้นานๆ

●ท้องเสีย คือ อาการอุจจาระร่วง หรือ ถ่ายอุจจาระบ่อยครั้งกว่าปกติ รวมทั้งลักษณะการถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติด้วย เช่น ถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายเป็นมูกเลือด หรือถ่ายอุจจาระบ่อย ร่วมกับมีการอาเจียนด้วยสาเหตุ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

– แบบเฉียบพลัน จะพบมากในคนส่วนใหญ่ เกิดขึ้นเร็ว แต่เป็นไม่นาน เช่น  จากการติดเชื้อ อาจเกิดจากไวรัส บิด อหิวา สารพิษ จากเชื้อโรค เกิดจากการกินพิษของโรคที่ปนเปื้อนในอาหาร สารเคมี พืชพิษ เช่น เห็ดพิษ กลอย เป็นต้น
– แบบเรื้อรัง ผู้ป่วยจะถ่ายนานเกิน 7 วัน อาจเกิดจาก ภาวะเครียด ติดเชื้อหรือโรคที่เป็นผลข้างเคียง

●อาหารเป็นพิษ เป็นโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย (หรือสารพิษของเชื้อแบคทีเรีย) ไวรัส หรือ เชื้อปรสิต หรือในบางครั้งอาจรวมถึงพิษจากโลหะหนักต่าง ๆ ด้วย ทำให้เกิดอาการทางระบบทางเดินอาหารที่มีความรุนแรงแตกต่างกันไปจากหลาย ๆ ปัจจัย โดยอาการที่มักพบบ่อยได้แก่ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว มีไข้ เป็นต้น

อุณหภูมิในการเก็บรักษาอาหารในแต่ละประเภท

●เนื้อสัตว์สด: ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ และเนื้อสัตว์อื่นๆที่นิยมรับประทาน เก็บในห้องเย็นหรือตู้เย็น ควรมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่า < 4℃ ถ้าต้องการจะเก็บเป็นเวลานานๆ ควรมีอุณหภูมิอยู่ที่ ต่ำกว่า -18℃

●อาหารทะเล: ได้แก่ ปลา กุ้ง หอย ปู ปลาหมึก และรวมไปถึงสัตว์น้ำต่างๆ ควรเก็บในภาชนะที่ป้องกันการรั่วซึมได้ อยู่ในช่วงอุณหภูมิที่ต่ำกว่า < 0℃ และ – 18℃ ตามลำดับ

●ผักสดและผลไม้หรือพืชผักสวนครัวทุกชนิด ผลไม้เมืองร้อน และเมืองหนาว ใช้กล่องสำหรับเก็บผักและภาชนะในการบรรจุที่สะอาด เก็บได้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิประมาณ 4℃ –  10℃ ไม่ควรแช่ผักและผลไม้ต่ำกว่านี้เพราะจะทำให้วินตามินและแร่ธาตุถูกทำลายได้ หรือผลไม้บ้างชนิดก็ไม่เหมาะสมกับการแช่เย็น บางทีความเย็นจะทำให้เนื้อผลไม้นั้นช้ำและเสียรสชาติได้

●ไข่ไก่ ไข่เป็ดและนมและผลิตภัณฑ์จากนม: อยู่ในช่วงอุณหภูมิที่ 4℃  –  5℃ ภายใน 1 สัปดาห์

●เครื่องดื่ม: อยู่ในช่วงอุณหภูมิที่ 10℃ – 15℃ บริเวณประตูของตู้เย็น

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “การเก็บอาหารไว้ในตู้เย็นๆ นานๆ กินได้หรือไม่?” ที่เราได้รวบรวมมาฝากท่านผู้อ่านกันในบทความข้างต้นนี้ หวังว่าจะเป็นความรู้ที่ดีสำหรับทุกๆ ท่านกันนะครับ

You may also like