ภัยจากอาหารแช่แข็ง

หลายๆ ท่านเคยได้ยินหรือได้ทราบเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า “การกินอาหารแบบเดิม ปรุงวิธีเดิมซ้ำๆ อาจะเป็นสิ่งที่ไม่ดีและเป็นภัยได้ในอนาคต” กันหรือไม่ครับ วันนี้เราอยากพาท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านไปพิสูจน์กันดูสักหน่อยว่าสาเหตุที่ว่า “ทำไมถึงไม่ควรกินอาหารแช่แข็งบ่อยๆ” นั้น…เป็นเพราะอะไร เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปดูกันดีกว่าครับ

ภัยจากอาหารแช่แข็งที่ท่านควรทราบ

อาหารแช่แข็ง คือ หนึ่งในประเภทอาหารที่ได้รับการถนอมด้วยการแช่แข็ง เพื่อหยุดการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ  แต่ก็แลกมาด้วยการศูนย์เสียแร่ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์กับร่างกายของผู้บิรโภค แถมยังมีปริมาณของ โซเดียมสูงอีกด้วยหล่ะครับ การที่เรารับประทานอาหารแช่แข็งบ่อยๆ ก็จะอาจเสี่ยงต่อโรคไตได้ในอนาคตครับ

แล้ว โซเดียม คืออะไรกันนะ?

โซเดียม (Sodium) จัดเป็นสารอาหารในกลุ่มเกลือแร่ (Mineral) ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายค่ะ โดยเจ้าเกลือแร่จะคอยปรับสมดุลของเหลวในร่างกายของเรา ช่วยรักษาระดับความดันเลือดให้คงที่อยู่ในระดับปกติ รักษาสภาพความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย แถมยังมีหน้าที่นำเอากรดอะมิโนจำเป็นและสารอื่นๆไปส่งให้กับเซลล์ต่างๆอีกด้วย  หากบริโภคโซเดียมเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการแล้ว จะก่อให้เกิดการเสื่อมของไต เพราะไตทำหน้าที่ขับโซเดียม เมื่อไตทำงานได้ลดลงจะทำให้มีการคั่งของเกลือ มีการบวมน้ำ ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง และเกิดโรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือดตามมาได้

4 อาหารที่มีโซเดียมสูง

●อาหารสำเร็จรูปและอาหารแช่แข็ง ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กสำเร็จรูป รวมถึงอาหารแบบแช่แข็งที่หาได้ตามร้านสะดวกซื้อหรือซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำทั่วไปเลยค่ะ อาหารกลุ่มนี้จะมีโซเดียมในปริมาณที่สูงมาก (มากกว่า 1,000 มิลลิกรัม) เพราะการใส่โซเดียมลงไปในอาหารจะช่วยยืดอายุของสินค้าให้อยู่ได้นานขึ้น

●อาหารที่มีผงฟู ผงฟูหรือเบคกิ้งโซดา ที่ใช้สำหรับทำขนมอบเหล่านี้มีส่วนผสมของโซเดียมไบคาร์บอเนต ซึ่งจัดเป็นโซเดียมรูปแบบหนึ่งเช่นเดียวกันค่ะ ดังนั้นแล้วหากเราทานพวกขนมเค้ก ขนมปัง โดนัท ปาท่องโก๋ หรือพวกขนมอบต่างๆในปริมาณมาก ก็อาจเสี่ยงที่จะได้รับโซเดียมเกินได้

●อาหารตากแห้ง ไม่ว่าจะเป็น ปลาตากแห้ง หมึกตากแห้ง เนื้อแดดเดียว หมูแดดเดียว กุ้งแห้ง ฯลฯ เพราะอาหารตากแห้งมีกรรมวิธีการทำหลักๆคือ ล้างทำความสะอาดวัตถุดิบจนสะอาดดี จากนั้นนำมาคลุกเกลือให้ทั่ว แล้วจึงนำไปตากแดดหรือเข้าเตาอบ จึงมีปริมาณโซเดียมสูง

●อาหารแปรรูป เป็นอีกหนึ่งประเภทอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง ไม่ว่าจะเป็น อาหารแปรรูป และอื่นๆ อีกมากมาย

เคล็ด(ไม่)ลับการเลือกซื้ออาหารแช่แข็ง

●ตรวจสอบฉลากโภชนาการ สิ่งสำคัญในการเลือกซื้ออาหารแช่แข็งคือการอ่านฉลากโภชนาการบนผลิตภัณฑ์ เพื่อให้แน่ใจว่าอาหารนั้น ๆ มีสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยควรเลือกอาหารแช่แข็งที่ให้พลังงานต่ำกว่า 300 แคลอรี่ และประกอบด้วยไขมันไม่เกิน 8 กรัม

●เลือกเมนูอาหารแช่แข็งสุขภาพ พยายามเลือกอาหารที่มีผักเป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก ซึ่งมักทำให้อาหารดังกล่าวมีแคลอรี่ต่ำกว่า แต่มีวิตามิน แร่ธาตุ และเส้นใยอาหารสูงกว่าอาหารแช่แข็งที่มีผักน้อย หากเป็นไปได้ควรเลือกข้าวกล้องหรือธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี ส่วนเนื้อสัตว์ก็ให้เลือกที่ไม่ติดมันจึงจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุดนั้นเองครับ

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับว่า “ทำไมถึงไม่ควรกินอาหารแช่แข็งบ่อยๆ” ที่เราได้รวบรวมมาฝากท่านผู้อ่านกันในบทความข้างต้นนี้กันครับ หวังว่าจะเป็นแนวทางที่มีประโยชน์ให้กับท่านผู้อ่านได้ลองไปทำตามกันนะครับ

You may also like